คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด ง

คำไวพจน์ หมวด ง ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนต่างกันหรือใช้ในบริบทต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า คำพ้องความ การหลากคำ คำพ้องรูป คำพ้องความหมาย

ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ

คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง

คำพ้องเสียง (คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร) คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน

คำพ้องความ (คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน

รวมคำไวพจน์ หมวด ง

คำไวพจน์ หมวด ง ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ งดงาม = แสล้ม / งานดี / พริ้ง / กะก่อง / สุทัศน์ / สุทรรศน์ / รจิต / แชล่ม / แฉล้ม / มล่าวเมลา / สวย / อภิราม / วิภา / จิตร- / จิตร / หาริ / รงรอง / รังรอง / รังเรข / งาม
  2. คำไวพจน์ งาม = โสภณ / บวร / อะเคื้อ / เสาวภาคย์ / พะงา / อันแถ้ง / รุจิเรข / วิศิษฏ์ / สิงคลิ้ง / ไฉไล / ตระการ / วิจิตรตระการตา / รูปงาม / กบูร / กวิน / ก่อง / น่ารัก / โกมล / งดงาม / มาโนชญ์ / รมณีย / ราม / ลลิต / พิจิตร / พิราม / พิไล
  3. คำไวพจน์ งู = ภุชงค์ / โฆรวิส / วิษธร / อุรคะ / สัปปะ / สรีสฤบ / โภคี / โภคิน / ภุชงคมะ / ภุชคะ / ผณิน / นาคี / ผณิ / ทีฆชาติ / เงือก / เทียรฆชาติ / นาคา / เงี้ยว / อหิ / อุรค
  4. คำไวพจน์ เงิน = รัชตะ / ปรัก / หิรัญ / รัชฎา / เงินทอง

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด ง"