คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด ช

คำไวพจน์ หมวด ช ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนต่างกันหรือใช้ในบริบทต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า คำพ้องความ การหลากคำ คำพ้องรูป คำพ้องความหมาย

ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ

คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง

คำพ้องเสียง (คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร) คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน

คำพ้องความ (คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน

รวมคำไวพจน์ หมวด ช

คำไวพจน์ หมวด ช ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ ชนะ = ชิต / รวด / พิชิต- / พิชิต / วิกรม / ลอยลำ / ขาดลอย / วิกรานต์ / ชย- / ชย / พิชัย / พิชย- / พิชย / ชโย / ชิต- / ชำนะ / วิชิต / อภิชิต / อภิชัย / เดโชชัย / ยาหยัง / ชัยชนะ / วิชัย / วิชย- / วิชย / เฉือน / ชัย- / ชัย / กินดิบ
  2. คำไวพจน์ ชรา = แก่ด้วยอายุ / ชำรุดทรุดโทรม / ปัจฉิมวัย / แก่ / เฒ่า / สูงวัย / หง่อม / เถ้า
  3. คำไวพจน์ ชีวิต = ความเป็นอยู่ / ลมหายใจ / ร่วมชีวิต / ไว้ชีวิต / วิถีชีวิต / ชีวัน / ชีวา / ชีวี / ความเป็น / เกิด
  4. คำไวพจน์ ชื่นชม = ชื่นชมยินดี / ปีติยินดี / ชัวชม / รื่นรมย์ / ชมชัว / หฤหรรษ์ / ดุษฎี / หื่นหรรษ์ / ลลิต / หฤษฎ์ / พิสมัย
  5. คำไวพจน์ ชื่อ = ชื่อรอง / ชื่อตัว / นาม / ชื่อย่อ / นามแฝง / สมญานาม / สมญา / นามกร / นามไธย / ชื่อตั้ง / ทินนาม / นามสมญา / สรรพนาม / ราชทินนาม
  6. คำไวพจน์ ช้าง = หัสดี / คชินทร์ / กรินทร์ / กุญชร / คชาธาร / ไอยรา / คช / หัตถี / สาร / กรี / คเชนทร์ / วารณ / ดำริ / หัสดินทร์ / คชา / พลาย

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด ช"