คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด ด

คำไวพจน์ หมวด ด ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนต่างกันหรือใช้ในบริบทต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า คำพ้องความ การหลากคำ คำพ้องรูป คำพ้องความหมาย

ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ

คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง

คำพ้องเสียง (คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร) คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน

คำพ้องความ (คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน

รวมคำไวพจน์ หมวด ด

คำไวพจน์ หมวด ด ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ ดวงตา = ตา / เนตร
  2. คำไวพจน์ ดอกบัว = สัตตบงกช / กมเลศ / กมลาศ / กระมล / กมล / โกมล / อุบล / บัว / จงกล / ปทุม / สาโรช / อุบล / นิโลตบล / อุทุมพร / บุษกร / นิลุบล / ปทุมา / ปัทมา / บงกช / บุณฑริก / สัตตบรรณ
  3. คำไวพจน์ ดอกไม้ = บุษบา / บุษบง / ผกามาศ / บุปผา / บุษบัน / มาลี / บุปผชาติ / ผกา / สุมาลี / บุหงา / มาลา / สุคันธชาติ / โกสุม
  4. คำไวพจน์ ดาว = มฆา / ชุติ / มหาอุจ / ผกาย / มูลา / มูละ / มูล / ศนิ / มาฆะ / ดารา / มฆะ / ดารกะ / อัสสนี / อัศวินี / ฤกษ์ / นักษัตร / สิธยะ
  5. คำไวพจน์ ดีใจ = ตื้นตันใจ / ลิงโลด / หฤษฎ์ / ภิรมย์ / อภิรมย์ / หัวร่อ / ดีอกดีใจ / ดีเนื้อดีใจ / สุมนัส / อภินันท์ / อภินันท- / อภินันท / ยินดี / ตื้นตัน / กระยิ้มกระย่อง / ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ / ตีปีก / ยินมลาก / เต็มตื้น / ยิ้มแต้ / ปลื้มใจ / พอใจ / ชอบใจ
  6. คำไวพจน์ เดิน = เดินเหิน / กราย / บริกรม / สะบัดย่าง / อยน- / อยน / สาวก้าว / สัญจาระ / บทจร / โทกเทก / ทอดน่อง / จรลี / ตบเท้า / ตุปัดตุเป๋ / ไคลคลา / เตร่ / คลาไคล / ถี่เท้า / ย้อแย้ / จงกรม / เยื้องย่าง / ผเดิน / ย่อง / ย่องกริบ / ยาตรา / ยาตร / ถีบทาง / ระร่าย / ชังฆวิหาร

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด ด"