คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด น

คำไวพจน์ หมวด น ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนต่างกันหรือใช้ในบริบทต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า คำพ้องความ การหลากคำ คำพ้องรูป คำพ้องความหมาย

ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ

คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง

คำพ้องเสียง (คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร) คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน

คำพ้องความ (คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน

รวมคำไวพจน์ หมวด น

คำไวพจน์ หมวด น ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ นก = ทวิช / วิหค / ปักษิณ / บุหรง / สกุณา / ทวิชาชาติ / สกุณ / ปักษี / ปักษา / สกุณี / ทิชากร / ทิชาชาติ / สุโนก
  2. คำไวพจน์ นกยูง = โมรี / โมเรส / โมร / เมารี
  3. คำไวพจน์ นรก = นิรย / ทุคติ / นารก
  4. คำไวพจน์ นอน = นิทรา / สีหไสยาสน์ / สีหไสยา / ไสยาสน์ / ผทม / ศยนะ / ศยะ / บรรทม / จำวัด / ไสยา / สยนะ / สลบไสล / เอนกาย / นิทร / โนน / ตากตน / แรมรอน / นอนเอือก / ทอดตัว / นอนซม / นอนแบ็บ / เอนหลัง / เอนตัว
  5. คำไวพจน์ นักปราชญ์ = ธีร์ / เธียร / เมธี / ธีระ / บัณฑิต / เมธา / ปราชญ์ / เมธ
  6. คำไวพจน์ นางอันเป็นที่รัก = แก้วกับอก / สมร / ทรามสงวน / แก้วกับตน / ขวัญอ่อน / ทรามสวาท / เยาวมาลย์ / ขวัญตา
  7. คำไวพจน์ นางอุมา = กาตยายนี / ภวาณี / จัณฑี / เคารี / รุทธานี / นางกาลี / ไหมวดี
  8. คำไวพจน์ น่าฟัง = ไพเราะ
  9. คำไวพจน์ น้ำ = สมุทร / ทึก / สลิล / ชโลทร / อัมพุ / ธารา / อุทก / อุทก / ธาร / ชลาลัย / อุทกธารา / ชลธี / คงคา / สาคเรศ / ชลาศัย / สาคร / รัตนากร / ชลธาร / สินธุ์ / สินธุ / หรรณพ / นที / อรรณพ / อาโป
  10. คำไวพจน์ น้ำหวาน = น้ำผึ้ง / น้ำหวานในดอกไม้ / น้ำดอกไม้ / น้ำเกสรดอกไม้ / พรนลัท / นลัท

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด น"