คำไวพจน์

คำไวพจน์ ผู้ชาย

คำไวพจน์ ผู้ชาย คือคำที่มีความหมายคล้ายเคียงหรือใกล้เคียงกับคำว่า ผู้ชาย ใช้ในบทประพันธ์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กาพย์ โคลง กลอน หรือแม้แต่ร้อยแก้ว เราสามารถใช้คำเหล่านี้ในการเรียกผู้ชายได้ทั้งสิ้น ตามแต่ความประสงค์ของเรา เช่น ให้คำคล้องจองกัน หรือได้คำที่สละสลวยเป็นเสน่ห์ของภาษาไทย โดยที่ยังคงความหมายดั่งเดิมตามบริบทของการใช้คำ

คำไวพจน์ของคำว่า ผู้ชาย มีหลายคำ แต่ละคำมีความหมายที่สามารถทดแทนกันได้ แต่ก็อาจจะความหมายแบบอื่นที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ทั้งนี้การใช้งานต้องดูที่บริบทประกอบด้วยเพื่อให้เป็นการสื่อสารที่ครบถ้วนและถูกต้องตามบริบทที่ต้องการ

คำไวพจน์ ผู้ชาย คืออะไร?

ผู้ชาย = พ่อ / ผม / เด็กผู้ชาย / ผัว / บุรุษ / ชาย / สุดหล่อ / น้อย / ปู่ / ภราดร / พระ / กนิษฐภาดา / ภิกษุ / ปิตุละ, ปิตุลา / พระหน่อ / วีรบุรุษ / ธ / คนดิบ / ต้น / ชายชาตรี / ลูกผู้ชาย / นายหัว / ดอล / บา / เจ้าบ่าว / กระทาชาย / กระผม / เรียม / เทพบุตร / พระหน่อเนื้อ / ลุง / อนุชา / คนสุก / ทิด / ขันที / คุณชาย / พ่อหนุ่ม / หนุ่มน้อย / ตัวพระ / กะกัง / พระเอก / ปิตุละ / เชษฐา / อ้าย / พ่อพลาย / ฤๅสาย / พ่อเล้า / กระหม่อม / ปิตุลา / ภราดร, ภราดา, ภราตร–, ภราตฤ– / บ่าวน้อย / ตี๋ / พ่อเลี้ยง / พ่อหนาน / พระฤๅสาย / ท้าว / ประสก / กระไทชาย / พระปิตุลา / ภราดา / ภาตา / ภาติยะ / ปุม-, ปุมา / เขย / ท่านชาย / มัชฌิมบุรุษ / หลวง / ยุว, ยุวา, ยุวาน / สมิงมิ่งชาย / ปั่ว / เยาวพาน / เถ้าแก่ / ภาดร, ภาดา / ลื้อ / ฮาจย์ / พระรอง / ภาตระ / อา / บัก / ภาตา, ภาตุ / เสี่ย / เกล้ากระผม / มาณพ / เกล้ากระหม่อม / ภาติกะ / เฮีย / แป๊ะ

พจนานุกรมไทย ผู้ชาย หมายถึง:

  1. น. ชาย.

ความหมายในพจนานุกรมไทย ของคำที่มีความหมายคล้าย ผู้ชาย

  1. กนิษฐภาดา หมายถึง น. น้องชาย. (-ป. ภาตา ว่า น้องชาย).

  2. กระทาชาย หมายถึง (โบ) น. คนผู้ชาย, กระไทชาย ก็ว่า.

  3. กระผม หมายถึง ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

  4. กระหม่อม หมายถึง น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบกับคําที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).

  5. กระไทชาย หมายถึง (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. (ม. คําหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า.

  6. กะกัง หมายถึง น. พี่ชาย. (ช. kakang).

  7. ขันที หมายถึง น. ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สําหรับควบคุมฝ่ายใน.

  8. คนดิบ หมายถึง น. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ.

  9. คนสุก หมายถึง น. ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว.

  10. คุณชาย หมายถึง (ปาก) น. คําที่ใช้เรียกหม่อมราชวงศ์ที่เป็นชาย.

  11. ชาย หมายถึง น. คนที่ไม่มีมดลูก, ผู้ชาย ก็ว่า.

  12. ชายชาตรี หมายถึง น. ผู้มีศิลปะหรือฝีไม้ลายมือในการต่อสู้.

  13. ตัวพระ หมายถึง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร.

  14. ต้น หมายถึง น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้นวงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุสามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือน ต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํากิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องในพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.

  15. ทิด หมายถึง น. คํานําหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด.

  16. ท่านชาย หมายถึง น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายชายชั้นหม่อมเจ้า.

  17. ท้าว หมายถึง น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน); ตําแหน่งบรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน; (ถิ่น-อีสาน) คําประกอบชื่อผู้ชายที่เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง.

  18. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เป็นพวกอักษรตํ่า และใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สุเมธ มคธ.

  19. น้อย หมายถึง ว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ไม่สําคัญ เช่น ครูน้อย ผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.

  20. บัก หมายถึง (ถิ่น) น. คําเรียกชายที่เสมอกันหรือตํ่ากว่า ตรงกับคําว่า อ้าย.

  21. บา หมายถึง น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม.

  22. ประสก หมายถึง (ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คําที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).

  23. ปั่ว หมายถึง (โบ) น. พลเมือง; ผู้ชาย.

  24. ปู่ หมายถึง น. พ่อของพ่อ, ผัวของย่า, ญาติผู้ชายหรือชายที่นับถือชั้นปู่.

  25. ผม หมายถึง น. ขนที่ขึ้นอยู่บนศีรษะ โดยปรกติเป็นเส้นยาว, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา เผ้า เป็น ผมเผ้า หรือ เผ้าผม.

  26. ผัว หมายถึง น. สามี, ชายที่เป็นคู่ครองของหญิง, คู่กับ เมีย.

  27. พระ หมายถึง [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

  28. พระรอง หมายถึง น. ตัวรองฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.

  29. พระเอก หมายถึง น. ตัวเอกฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.

  30. พ่อ หมายถึง น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.

  31. พ่อเลี้ยง หมายถึง น. ผัวของแม่ แต่ไม่ใช่พ่อของตัว; (ถิ่น-พายัพ) แพทย์; ชายที่มีฐานะดี.

  32. พ่อเล้า หมายถึง (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.

  33. ภาตระ หมายถึง [พาตะระ] น. พี่ชายน้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ).

  34. ภาติกะ หมายถึง น. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ + ก).

  35. ภาติยะ หมายถึง น. ลูกของพี่ชายน้องชาย, หลาน. (ป.; ส. ภาตฺรีย).

  36. ภิกษุ หมายถึง น. ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุ).

  37. มัชฌิมบุรุษ หมายถึง น. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.

  38. มาณพ หมายถึง [-นบ] น. ชายหนุ่ม, ชายรุ่น. (ป., ส.).

  39. ฤๅสาย หมายถึง น. คําเรียกผู้เป็นใหญ่เช่นกษัตริย์.

  40. ลื้อ หมายถึง น. ไทยพวกหนึ่งอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา.

  41. ลุง หมายถึง น. พี่ชายของพ่อหรือแม่ หรือชายที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อหรือแม่, คําเรียกชายที่ไม่รู้จักแต่มักจะมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่.

  42. ลูกผู้ชาย หมายถึง น. เรียกผู้ชายที่มีความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น.

  43. วีรบุรุษ หมายถึง [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ. (ส. วีรปุรุษ).

  44. สมิงมิ่งชาย หมายถึง น. ชายชาติทหาร, ยอดชาย.

  45. หนุ่มน้อย หมายถึง น. ชายที่อยู่ในวัยรุ่น.

  46. หลวง หมายถึง ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.

  47. อนุชา หมายถึง [อะนุชา] น. “ผู้เกิดภายหลัง”, น้องชาย, (ราชา) พระอนุชา. (ป., ส.).

  48. อา หมายถึง น. น้องของพ่อ, (โบ) เขียนเป็น อาว์ ก็มี. (อีสาน อา ว่า น้องสาวของพ่อ, อาว ว่า น้องชายของพ่อ).

  49. อ้าย หมายถึง (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย. (สามดวง); โดยปริยายอนุโลมเรียกพี่ชายคนโตว่า พี่อ้าย. ว. ต้น, หนึ่ง, ในคำว่า เดือนอ้าย.

  50. เกล้ากระผม หมายถึง ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

  51. เกล้ากระหม่อม หมายถึง ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

  52. เขย หมายถึง น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็นผัวของลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย.

  53. เจ้าบ่าว หมายถึง น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว.

  54. เชษฐา หมายถึง [เชดถา] (กลอน) น. พี่ชาย, คู่กับ กนิษฐา คือ น้องสาว.

  55. เถ้าแก่ หมายถึง น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสํานัก; ผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในการสู่ขอและการหมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมีฐานะดี, เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่).

  56. เทพบุตร หมายถึง [เทบพะบุด] น. เทวดาผู้ชาย. (ส.).

  57. เยาวพาน หมายถึง [-วะพาน] น. ชายหนุ่ม. ว. หนุ่ม, รุ่น. (แผลงมาจาก ยุวาน).

  58. เรียม หมายถึง ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด สําหรับผู้ชายพูดกับผู้หญิงที่รัก, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. [ข. (ราชา) เริ่ยม = พี่].

  59. แป๊ะ หมายถึง (ปาก) น. ชายจีนแก่; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

 ภาพประกอบ

  • คำไวพจน์ ผู้ชาย คืออะไร?, คำในภาษาไทย พ่อ กลุ่มคำไวพจน์ คำไวพจน์กลุ่ม คน/มนุษย์ หมวด คำไวพจน์ ผู้ชาย

 คำไวพจน์ที่คล้ายกัน

ผิวงาม ผู้หญิง ผู้เป็นใหญ่

หาคำศัพท์ไม่เจอ หรือยังไม่เห็นคำที่ต้องการ?

ช่วยแนะนำคำใหม่ให้เราสิ
แจ้งเพิ่มคำ

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ผู้ชาย"

 คำไวพจน์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ

 บทความปักหมุด

 บทความอื่น ๆ จาก "คำไวพจน์"