กรสุทธิ์ หมายถึง [กะระ-] น. “การชําระมือให้หมดจด”, พิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. (ส. กรศุทฺธิ).
ขาว หมายถึง น. สีชนิดหนึ่งเหมือนสําลี.
ว. มีสีอย่างสำลี, โดยปริยายหมายความว่า แจ่มแจ้ง, สะอาดบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน.
ชระ หมายถึง [ชฺระ] ว. สะอาด, บริสุทธิ์, เช่น ให้ฉลักแสบกภาพอันชระ. (สมุทรโฆษ).
บพิตร หมายถึง [บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บํารุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคําที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.
บริสุทธิ์ หมายถึง [บอริสุด] ว. แท้, ไม่มีอะไรเจือปน, เช่น ทองบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน, ปราศจากความผิด, เช่น เป็นผู้บริสุทธิ์, หมดจดไม่มีตําหนิ เช่น เพชรบริสุทธิ์ เครื่องแก้วบริสุทธิ์; เรียกสาวพรหมจารีว่า สาวบริสุทธิ์.
น. แร่ชนิดหนึ่ง ในจําพวกนวโลหะ. (ป. ปริสุทฺธิ).
ประวิตร หมายถึง [ปฺระวิด] ว. บพิตร; บริสุทธิ์, สะอาด.
พิศุทธิ์ หมายถึง น. ความผ่องใส, ความงาม, ความดี, ความสะอาด, ความบริสุทธิ์, ความถูกต้อง; การล้าง. (ส. วิศุทฺธิ; ป. วิสุทฺธิ).
พิศุทธ์ หมายถึง ว. สะอาด, ใส, ขาว, หมดจด, บริสุทธิ์, หมดมลทิน, ไม่มีความเสียหาย, ไม่มีตําหนิ. (ส. วิศุทฺธ; ป. วิสุทฺธ).
วิมล หมายถึง ว. ปราศจากมลทิน, ไม่มีตําหนิ, ใส, สะอาด, บริสุทธิ์, กระจ่าง, งาม. (ป., ส.).
วิรัช หมายถึง ว. ปราศจากธุลี, ไม่มีมลทิน, บริสุทธิ์, สะอาด. (ป., ส.).
ศุจิ หมายถึง น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุจิ).
สกาว หมายถึง [สะกาว] ว. ขาว, สะอาด, หมดจด.
สระอาด หมายถึง [สฺระ-] (กลอน) ว. สะอาด.
สะอาง หมายถึง ว. งามสะอาดหมดจด เช่น สาวสะอาง สวยสะอาง สะอางองค์.
สะอาดสะอ้าน หมายถึง ว. สะอาดหมดจด เช่น เด็กคนนี้หน้าตาสะอาดสะอ้าน.
สะอ้าน หมายถึง ว. หมดจด, สะอาด, มักใช้เข้าคู่กับคํา สะอาด เป็น สะอาดสะอ้าน.
สำอาง หมายถึง น. เครื่องแป้งเครื่องหอม เรียกว่า เครื่องสําอาง, ปัจจุบันหมายถึง สิ่งเสริมแต่งหรือบำรุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม เป็นต้นให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องพระสําอาง. ว. ที่ทําให้งามสะอาดหมดจด, งามสะอาดหมดจด, งามกรีดกรายหยิบหย่ง เช่น เขาเป็นหนุ่มสำอางท่าทางกรีดกราย.
สุก หมายถึง ก. พ้นจากห่าม เช่น ผลไม้สุก, เปลี่ยนสภาพจากดิบด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อย่างต้ม ผัด ย่าง เป็นต้น เช่น ต้มไก่สุกแล้ว ย่างเนื้อให้สุก, ถึงระยะที่ได้ที่หรือแก่จัดแล้ว เช่น ข้าวในนาสุกเกี่ยวได้แล้ว ฝีสุกจนแตก ต้อสุกผ่าได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร้อนจนเนื้อตัวจะสุกแล้ว ถูกเขาต้มจนสุก, เรียกชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้วว่า คนสุก; ปลั่งเป็นมันแวววาว เช่น ทองเนื้อสุกดี.
สุจิ หมายถึง ว. สะอาด, หมดจด, ผ่องใส. (ป.; ส. ศุจิ).
หมดจด หมายถึง ว. สะอาด, ผ่องใส, เช่น เขาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสะอาดหมดจด; ไม่มีตําหนิ, ไม่ด่างพร้อย, เช่น เขามีความประพฤติหมดจด.
เรี่ยม หมายถึง ว. สะอาด, หมดจด, เอี่ยมอ่อง, เช่น แต่งตัวเรี่ยม หน้าตาเรี่ยม ขัดพื้นเสียเรี่ยม; วิเศษ, ดีเยี่ยม, เช่น ถ้าสอบได้ที่ ๑ ก็เรี่ยม ได้บรรจุงานก็เรี่ยม.
แผ้ว หมายถึง ก. ทําให้เตียน สะอาด หรือหมดสิ้นไป, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น แผ้วถาง แผ้วกวาด.
ว. สะอาด, หมดจด, บริสุทธิ์, มักใช้เข้าคู่กับคํา ผ่อง เป็น ผ่องแผ้ว.